กรุงเทพฯ, 2 เมษายน 2567 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ — อาหารไทยเป็นอาหารที่เปี่ยมไปด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วยรสชาติแบบดั้งเดิม เข้มข้น และหลากหลาย ยิ่งไปกว่านั้น อาหารไทยและสมุนไพรกำลังได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคให้ความสำคัญการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมด้วยวิธีทางธรรมชาติ ซึ่งอ้างอิงมาจากข้อมูลการวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับอาหารไทยท้องถิ่นของมินเทล (Mintel)

พิมพ์วดี (ซาร่า) อากีลาร์ (Pimwadee (Sara) Aguilar) ผู้อำนวยการของมินเทล ไทยแลนด์ รีพอร์ต (Mintel Thailand Reports) ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงลำดับความสำคัญของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับคุณค่าทางโภชนาการ และรสชาติที่เข้มข้นเหนือปัจจัยด้านสุนทรียศาสตร์

งานวิจัยของมินเทลแสดงให้เห็นว่าผู้คนกว่า 61% ยินดีที่จะจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อให้ได้อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และ 52% ชื่นชอบรสชาติอาหารไทยที่เข้มข้น นอกจากนี้ ผู้คนยังให้คุณค่ากับรสชาติต้นตำรับอย่างมาก โดยเฉพาะในหมู่ผู้หญิงทุกวัย (50%) และผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 35 ปี (51%)

“การรวมสมุนไพรเข้าไว้ด้วยกันเป็นหัวใจสำคัญสำหรับผู้ชื่นชอบรสชาติแบบต้นตำรับของไทย เพราะสมุนไพรและเครื่องเทศที่ได้หลากหลายได้เติมแต่งความล้ำลึกให้กับอาหารแบบดั้งเดิม” อากีลาร์กล่าว

ในส่วนของเครื่องปรุงรส น้ำหมักปลา (ปลาร้า) ได้รับความนิยมของแถบอีสาน โดยมีผู้บริโภค 33% ระบุว่า “พวกเขาชอบปลาร้ามาก” ในทำนองเดียวกัน ซอสแกงไตปลาไม่เพียงได้รับความนิยมในหมู่คนใต้เท่านั้น แต่ยังได้รับความนิยมในกรุงเทพฯ ด้วยโดยมีผู้บริโภค 25% และ 27% ตามลำดับที่ชื่นชอบซอสชนิดนี้อย่างมาก ในขณะเดียวกัน แบรนด์ต่างๆ ยังมีโอกาสในการทำธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องปรุงรสกุ้ง (หรือที่รู้จักในชื่อ “กะปิ”) ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ได้รับความนิยมอย่างมาก (70%) ในหมู่ผู้บริโภคชาวไทยที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป

“แบรนด์ต่างๆ กำลังเผชิญกับความท้าทายในการส่งมอบรสชาติต้นตำรับ และนำเสนอนวัตกรรมใหม่สำหรับอาหารสำเร็จรูป การรวมเครื่องปรุงรสไทยที่ได้รับความนิยมอย่างน้ำปลาร้าเข้ามา อาจช่วยดึงดูดกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้ พร้อมกับเปิดรับรสชาติของภูมิภาคเพื่อนำเสนอลู่ทางในการสร้างความแตกต่าง” อากีลาร์กล่าวต่อ

ผู้บริโภคชาวไทยมีความสนใจอย่างมากในการสำรวจความรู้สึกใหม่ๆ โดยมีผู้คนกว่า 70% ที่กระตือรือร้นที่จะมองหา “อาหาร/รสชาติใหม่ๆ ตลอดเวลาหรือเกือบทุกครั้ง” รสชาติเผ็ดได้รับความชื่นชอบเป็นพิเศษโดยมีผู้คนเจน ซี กว่า 91% ที่เห็นด้วยว่า “การทานอาหารเผ็ดทำให้พวกเขามีความสุข”

อาหารประจำภูมิภาคได้กลายเป็นศูนย์กลางให้แบรนด์ต่างๆ ค้นหาแรงบันดาลใจให้กับรสชาติใหม่ๆ ของอาหารสำเร็จรูป ทั้งนี้อาหารข้างทาง ซึ่งเป็นอาหารสำหรับผู้ที่มองหาอาหารรสชาติอร่อยที่ทานได้รวดเร็วระหว่างเดินทาง ได้กลับกลายมาเป็นอาหารสำเร็จรูปอีกด้วย

นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังมีความคาดหวังมากขึ้นที่สูตรอาหารจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ และเป็นอาหารที่มาจากธรรมชาติ โดยงานวิจัยของมิเทลชี้ให้เห็นว่าชาวไทยไม่ได้จำกัดอยู่ที่ตัวเลือกบางอย่าง แต่กลับแสวงหาวัตถุดิบเสริมเพื่อทำให้อาหารของพวกเขาดีต่อสุขภาพยิ่งขึ้น

“อาหารไทยมักจะใช้วัตถุดิบที่สดใหม่ เช่น สมุนไพรและเครื่องเทศ ซึ่งส่งผลให้อาหารอุดมไปด้วยสารอาหารและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ การใช้ส่วนผสมของผัก โปรตีนที่มีไขมันต่ำ และสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมอย่าง ตะไคร้ ขิง และโหระพา ได้กลับกลายเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ใส่ใจสุขภาพ ซึ่งให้ความสำคัญกับมื้ออาหารที่มีความสมดุล และมีคุณค่าทางโภชนาการ” อากีลาร์ กล่าว

กระทรวงวัฒนธรรม (Thai Ministry of Culture) ได้เปิดตัวโครงการ “ไทยเทสเทอราปี” (Thai Taste Therapy) เพื่อส่งเสริมสูตรอาหารไทยต้นตำรับที่ดีต่อสุขภาพตั้งแต่ช่วงปลายปี 2564 เป็นต้นมา

“แบรนด์ต่างๆ สามารถส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสมุนไพรที่มีสรรพคุณเป็นยาของไทยกับคุณประโยชน์ด้านสุขภาพอื่นๆ ที่มากกว่าแค่การเสริมภูมิคุ้มกัน เนื่องจากผู้บริโภคยินดีที่จะจ่ายมากขึ้นเพื่อรับสรรพคุณต่างๆ มากมาย” เธอกล่าว

อาหารไทยฟิวชั่นมีแนวโน้มในการพัฒนามากที่ดูมีอนาคตไกล โดยมีชาวไทย 42% ที่ชื่นชอบอาหารไทยสูตรต้นตำรับประจำภูมิภาคมากกว่าอาหารไทยฟิวชั่นสมัยใหม่ นวัตกรรมด้านขนมขบเคี้ยวยังมีลู่ทางให้แบรนด์ต่างๆ ได้ออกสำรวจ เนื่องจากชาวไทยกว่า 40% เห็นด้วยว่าขนมขบเคี้ยว เช่น มันฝรั่งทอดกรอบที่มีรสชาติที่ได้รับแรงบันดาลใจจากอาหารประจำภูมิภาคของไทยนั้นเป็นสิ่งที่น่าสนใจ

ทั้งนี้จากข้อมูลของอากีลาร์ แบรนด์ต่างๆ ยังได้ใช้ประโยชน์จากแนวทางการจัดหาวัตถุดิบอย่างมีจริยธรรมเพื่อยกระดับความเป็นต้นตำรับ และดึงดูดผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ซอสและเครื่องปรุงรสที่ช่วยให้ประสบการณ์การทำอาหารไทยที่บ้านเรียบง่ายขึ้นก็มีแนวโน้มในการเติบโตเช่นกัน โดยมีผู้บริโภคกว่า 57% ที่ให้ความสนใจในโซลูชั่นดังกล่าว

“การเน้นย้ำถึงความเป็นต้นตำรับ คุณค่าทางโภชนาการ และรสชาติประจำภูมิภาคสามารถให้ความรู้สึกแบบพรีเมียมได้ และการใช้สมุนไพรไทย และเครื่องปรุงรสในท้องถิ่นยังสามารถดึงดูดผู้คนในวงกว้างขึ้นได้อีกด้วย” อากีลาร์กล่าว

Source : ความต้องการในรสชาติต้นตำรับและธรรมชาติบำบัดได้ผลักดันให้อาหารไทยได้รับความนิยม

The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Thailand Business Directory.

Sign In

Register

Reset Password

Please enter your username or email address, you will receive a link to create a new password via email.