การวิเคราะห์อภิมานโดยแกลลัพได้วางกรอบการทำงานใหม่ เพื่อทำความเข้าใจความเชื่อมโยงอย่างเหนียวแน่นระหว่างความเชื่อทางจิตวิญญาณและศาสนากับสุขภาวะที่ดีขึ้น โดยอาศัยข้อมูลที่รวบรวมมาจากการสำรวจความคิดเห็นทั่วโลกของแกลลัพ

ลอนดอน–9 ตุลาคม 2566–พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต 

เนื่องในวันสุขภาพจิตโลก ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี โครงการศรัทธาและสื่อ (Faith & Media Initiative) ของมูลนิธิเรเดียนท์ (Radiant Foundation) ได้จับมือกับ แกลลัพ (Gallup) เผยแพร่รายงานในหัวข้อ "ศรัทธาและสุขภาวะ ความเชื่อมโยงทั่วโลกระหว่างความเชื่อทางจิตวิญญาณกับสุขภาวะ" (Faith and Wellness: The Worldwide Connection Between Spirituality & Wellbeing) (ลิงก์รายงาน: https://www.faithandmedia.com/research/gallup) ซึ่งเป็นรายงานการวิเคราะห์อภิมานของข้อมูลทางวิชาการและข้อมูลที่แกลลัพรวบรวมมาจากทั่วโลก ซึ่งเผยให้เห็นว่าความเชื่อทางจิตวิญญาณสามารถช่วยแก้ไขวิกฤตสุขภาพจิตได้ โดยผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมมาจากการสำรวจความคิดเห็นทั่วโลกของแกลลัพ (Gallup World Poll) ตลอดระยะเวลา 10 ปี ในกว่า 140 ประเทศ ซึ่งครอบคลุมประชากรราว 1.47 ล้านคน แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันเหนียวแน่นระหว่างความศรัทธาในศาสนากับสุขภาวะ ขณะที่ดัชนีของแกลลัพที่ชี้วัดอารมณ์เชิงบวก ชีวิตทางสังคม การมองโลกในแง่ดี และการมีจิตสาธารณะ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างความศรัทธาในศาสนา ซึ่งนิยามโดยความสำคัญของศาสนาในชีวิตประจำวัน กับผลลัพธ์ด้านสุขภาวะ

จากการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วโลกพบว่า ผู้ที่กล่าวว่าศาสนามีความสำคัญต่อตนเอง มีแนวโน้มที่จะมีจิตสาธารณะมากกว่า โดยชี้วัดด้วยดัชนีจิตสาธารณะ ซึ่งประเมินแนวโน้มในการสละเวลาของตนเองและช่วยเหลือผู้อื่น นอกจากนี้ จากการวิเคราะห์อภิมานพบว่า คนที่ศรัทธาในศาสนาราว 100 ล้านคน เชื่อว่าตนเองสามารถพึ่งพาผู้อื่นในยามจำเป็นได้มากกว่าเมื่อเทียบกับถ้าตนเองไม่ศรัทธาในศาสนา และจากดัชนีประสบการณ์เชิงบวก พบว่าผู้ใหญ่ประมาณ 160 ล้านคนทั่วโลกเชื่อว่าตนเองมีประสบการณ์เชิงบวกมากกว่าเมื่อเทียบกับถ้าตนเองไม่ศรัทธาในศาสนา

นอกจากนี้ แกลลัพได้พิจารณาเอกสารข้อมูลที่มีอยู่และทำการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อพัฒนากรอบการทำงานใหม่ ซึ่งระบุผลพวงสำคัญ 5 ประการที่ความเชื่อทางจิตวิญญาณส่งผลดีต่อสุขภาวะ ได้แก่ 1) การเผชิญปัญหาเชิงบวกและการมีจุดมุ่งหมายในชีวิต 2) การเชื่อมโยงทางสังคมด้วยศรัทธา 3) การมีจิตสาธารณะและการมีส่วนร่วมในชุมชน 4) ความมีเสถียรภาพเชิงโครงสร้าง และ 5) การมีสถานที่ทำงานที่สนับสนุนสุขภาวะแบบองค์รวม

"ในขณะที่คุณพยายามอย่างเต็มที่เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น คุณก็จะได้รับความช่วยเหลือเช่นเดียวกัน นั่นคือโครงสร้างของโลก หากคุณเมตตาผู้อื่นโดยไม่เห็นแก่ตัวและไม่มีเงื่อนไข ชีวิตของคุณก็จะมีความมั่นคงเช่นเดียวกัน" คุณฮาโรลด์ โคนิก (Harold Koenig) ศาสตราจารย์สาขาจิตเวชศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์จากโรงเรียนแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยดุ๊ก กล่าว "ศาสนาใช้ได้กับทุกคนและทุกเวลา โดยไม่คำนึงถึงสถานภาพทางการเงิน สังคม ร่างกาย หรือจิตใจ"

"เรากำลังเผชิญกับวิกฤตสุขภาพจิตทั่วโลก ดังนั้น เราไม่อาจมองข้ามแง่มุมใดของชีวิตหรือกิจกรรมใดก็ตามที่สามารถยกระดับสุขภาวะของเราได้" คุณแอรอน เชอริเนียน (Aaron Sherinian) ซีอีโอของมูลนิธิเรเดียนท์ กล่าว "ก่อนหน้านี้ การสำรวจส่วนใหญ่ถามเฉพาะคำถามเบื้องต้นเกี่ยวกับการปฏิบัติทางจิตวิญญาณ แต่การวัดผลที่ครอบคลุมมากขึ้นนี้จะช่วยให้เราเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าปัจจัยด้านความศรัทธาและจิตวิญญาณสามารถเสริมสร้างสุขภาพจิตได้อย่างไร การศึกษานี้ทำให้เรามีกรอบการทำงานใหม่สำหรับการเชื่อมโยงปัจจัยเหล่านั้นเข้าด้วยกัน ตลอดจนทำความเข้าใจอย่างเหมาะสมและครอบคลุมมากขึ้นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามหลักศาสนา จิตวิญญาณ และสุขภาวะ"

แม้ว่าผลการศึกษาและการวิเคราะห์อย่างละเอียดในรายงานจะแสดงให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างจิตวิญญาณกับสุขภาวะ ทว่าความสัมพันธ์นั้นมีความซับซ้อน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากทั่วโลกของแกลลัพในช่วงปี 2555-2565 แสดงให้เห็นว่า จิตวิญญาณและผลลัพธ์ด้านสุขภาวะมีความแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละสถานที่ทั่วโลก แต่โดยรวมแล้ว ผู้นับถือศาสนามีแนวโน้มที่จะได้คะแนนดีกว่าผู้ที่ไม่นับถือศาสนา ทั้งในดัชนีประสบการณ์เชิงบวก ดัชนีชีวิตทางสังคม ดัชนีพื้นฐานชุมชน และดัชนีการมองโลกในแง่ดี นอกจากนี้ ผลลัพธ์เชิงบวกยังเพิ่มมากขึ้นเมื่อผู้นับถือศาสนาอาศัยอยู่ในประเทศที่ศรัทธาในศาสนามากกว่า

"แม้ว่าความเชื่อมโยงระหว่างศาสนา จิตวิญญาณ และสุขภาวะจะได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง แต่ก็ยังมีอีกหลายประเด็นที่ต้องตรวจสอบให้ลึกยิ่งขึ้น" คุณอิลานา รอน-เลวีย์ (Ilana Ron-Levey) กรรมการผู้จัดการของแกลลัพ กล่าว "คนจำนวนมากอาจยังไม่ตระหนักเต็มที่ถึงผลลัพธ์เชิงบวกที่การปฏิบัติทางจิตวิญญาณมีต่อสุขภาพกายและใจของตนเอง ดังนั้น การศึกษานี้ได้ช่วยเผยให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างจิตวิญญาณกับสุขภาวะในหลายประเทศและภูมิภาค"

รายงานฉบับนี้ยังตั้งคำถามด้วยว่า สถานที่ทำงานสามารถนำองค์ประกอบด้านจิตวิญญาณมารวมเข้ากับโครงการส่งเสริมสุขภาวะของพนักงานได้หรือไม่ เนื่องจากรายงานล่าสุดของกรมการแพทย์ทหารแห่งสหรัฐอเมริกา ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของสถานที่ทำงานที่ใส่ใจสุขภาวะของพนักงาน

"หนึ่งใน "ประเด็นร้อน" ที่นายจ้างต้องรับมือคือ การตอบสนองต่อศรัทธาในที่ทำงาน เนื่องจากพนักงานจากหลากหลายประเพณีต่างต้องการเป็นตัวของตัวเองในที่ทำงาน ซึ่งครอบคลุมถึงอัตลักษณ์ทางจิตวิญญาณของตนเองด้วย" ดร.เดวิด มิลเลอร์ (David Miller) ผู้อำนวยการโครงการศรัทธาและงาน (Faith & Work Initiative) ของมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน กล่าว "ความศรัทธาและจิตวิญญาณจะต้องเป็นส่วนสำคัญของการส่งเสริมความหลากหลาย ความเสมอภาค และการไม่แบ่งแยกในทุกองค์กร"

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวิจัยและอ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ https://www.faithandmedia.com/research/gallup

เกี่ยวกับมูลนิธิเรเดียนท์

มูลนิธิเรเดียนท์ (Radiant Foundation) มีพันธกิจในการสร้างสถานที่เชิงบวกและเป็นส่วนตัวมากขึ้นเพื่อรองรับศรัทธาในสังคมยุคใหม่ ทางมูลนิธิกำลังเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมและชีวิตของผู้คนมากมาย ด้วยการสนับสนุนการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับศรัทธาในข่าวและสื่อบันเทิงอย่างหลากหลายและถูกต้องมากขึ้น ช่วยให้ผู้คนพัฒนาความสัมพันธ์อย่างมีคุณค่ากับพระเจ้า ลดการแบ่งแยก ส่งเสริมความเข้าใจ และสร้างแรงบันดาลใจในการแลกเปลี่ยนทางจิตวิญญาณอย่างมีคุณค่า

เกี่ยวกับแกลลัพ

แกลลัพ (Gallup) ให้บริการวิเคราะห์และให้คำแนะนำ เพื่อช่วยให้ผู้นำและองค์กรต่าง ๆ สามารถแก้ไขปัญหาเร่งด่วนที่สุดได้ แกลลัพผสานประสบการณ์ที่สั่งสมมานานกว่า 80 ปี เข้ากับเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก ทำให้เข้าใจทัศนคติและพฤติกรรมของพนักงาน ลูกค้า นักเรียนนักศึกษา รวมถึงประชาชนทั่วไปมากกว่าองค์กรใดในโลกนี้

โลโก้ – https://mma.prnasia.com/media2/2240944/gallup_vector_logo_Logo.jpg?p=medium600

โลโก้ – https://mma.prnasia.com/media2/2240945/Dark_Initiative_Logo_Horiz_Logo.jpg?p=medium600

 

Source : แกลลัพ จับมือ มูลนิธิเรเดียนท์ จัดทำรายงานระดับโลกฉบับใหม่ เผยความศรัทธาในศาสนาช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตได้

The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner.The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Thailand Business Directory.

Sign In

Register

Reset Password

Please enter your username or email address, you will receive a link to create a new password via email.